ผู้ชนะเลิศประจำปี 2022 > ผู้ชนะเลิศของ ประเทศไทย

รางวัลชมเชย

1st_Prize_avatar

ชื่อ: Urbanization: City Upside Down

ชื่อ: ณิชนันท์ กาศิเษฎาพันธ์

มหาวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เรื่องราวการออกแบบ :
งานออกแบบของท่านได้รับแรงบันดาลใจมาจากอะไร : ปัจจุบันสังคมได้ขยายจนมีขนาดใหญ่มากขึ้น ที่อยู่อาศัย และการใช้งานจึงเป็นไปเริ่มเป็นไปในแนวตั้ง สิ่งก่อสร้างในระดับเมืองใหญ่ถูกพัฒนาให้เกิดความสวยงามทั้งในแง่สถาปัตยกรรม และแสงสว่าง งานออกแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเจริญเติบโตของสังคมเมือง ที่ถูกพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดโดยประยุกต์ให้เป็นสังคมเมืองในลักษณะ upside down เพื่อแสดงถึงการหลีกหนีความวุ่นวายจากสังคมเมือง มาสู่พื้นที่ที่สงบ และผ่อนคลายเช่นห้องนํ้าในที่พักอาศัย

ผู้ใช้งานกลุ่มเป้าหมายของท่านคือใคร และงานออกแบบนี้จะเติมเต็มความต้องการของผู้ใช้งานกลุ่มนี้ได้อย่างไร : ครอบครัวรุ่นใหม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 4-8 ปี ที่ต้องการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้มีความปลอดภัยสูง ตัวอย่างเช่น Rain Shower ติดตั้งมาพร้อมกับตัวควมคุมอุณหภูมินํ้าผสมให้คงที่ตลอดเวลา ไม่ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงจนอาจทำให้ผู้ใช้งานได้รับอันตราย การเลือกใช้อุณหภูมิ สีของแสงภายในงานออกแบบให้ความอบอุ่นเพื่อให้ผู้ให้มีความผ่อนคลาย หลังจากเหนื่อยล้าจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน ระยะการติดตั้ง และจัดวางสุขภัณฑ์มีความกะทัดรัด มีพื้นที่ในการใช้งานที่สะดวก และไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป

งานออกแบบนี้เป็นไปตามธีมที่กำหนดสำหรับโจทย์การออกแบบที่ท่านเลือกอย่างไร : เป็นการย่อผังเมืองลงมาอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เช่น ฝ้าเพดาน โดยพลิกกลับด้านให้รับรู้ถึงสังคมเมือง ผ่านแสงสว่าง และรูปทรงที่ถูกลดทอน หากยังคงรับรู้ได้ถึงความเจริญของสังคมเมือง แต่มองไม่เห็นในระดับสายตา ไม่ว่าจะเป็นในเวลากลางวัน หรือกลางคืน ตึกสูงต่าง ๆ มักจะเปิดไฟภายในตัวอาคารเสมอ ทำให้ผู้ใช้งานรับรู้ได้ถึงแสงสว่างเหล่านั้นผ่านรูปลักษณ์อาคาร และผังเมือง ระนาบต่าง ๆ จึงถูกแบ่งเป็นสีขาว และสีดำ สีขาวแทนเวลากลางวันสำหรับการเตรียมตัวในช่วงเช้า สีดำแทนเวลากลางคืนสำหรับการผ่อนคลายในยามค่ำคืน มีการเลือกใช้ลายสีขาวบนระนาบสีดำซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสายนํ้า สอดคล้องไปกับพื้นที่ในการชำระล้าง และสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่ท่านเลือกใช้มีส่วนช่วยให้งานออกแบบของท่านเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการอย่างไร : ด้วยการเป็นครอบครัวยุคใหม่ต้องการความสะดวกสบาย และเรียบง่ายมากขึ้น บริเวณอ่างล่างมือสามารถเปิด-ปิดได้สะดวก และสามารถปรับอุณหภูมินํ้าได้ Rain shower สามารถควบคุมอุณหภูมินํ้าให้คงที่ตลอดเวลา และสามารถเลือกรูปแบบของการใช้งานได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการใช้งานในหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน ลักษณะของโถสุขภัณฑ์สามารถประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งเมื่อเทียบโถสุขภัณฑ์ทั่วไป ทำให้เหลือพื้นที่ใช้สอยในห้องนํ้ามากยิ่งขึ้น สามารถจัดวางอุปกรณ์ภายในห้องนํ้าได้มีประสิทธิภาพ และการออกแบบที่สามารถเปิด-ปิดได้อย่างนุ่มนวล ทำให้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน และตัวดีไซน์ของสุขภัณฑ์มีลักษณะเรียบง่ายสอดคล้องไปกับงานออกแบบพื้นที่ห้องนํ้าในส่วนอื่น ๆ อีกด้วย