Participation Criteria

ผู้เข้าร่วมการประกวด ต้องเป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะมัณฑนศิลป์ หรือคณะ/สาขาวิชา ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (เท่านั้น) ในประเทศไทย ออสเตรเลีย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

Judging Criteria
Criteria Criteria
Purposeful Design: การออกแบบอย่างมีจุดมุ่งหมาย

แนวคิดการออกแบบคำนึงถึงความต้องการของผู้เข้าพักและเจ้าของที่พัก รวมถึงแสดงให้เห็นว่าการออกแบบพื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ American Standard ที่เลือกมาใช้ ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้อย่างไร

40
Inviting Style: ความน่าใช้งาน

ทำให้การใช้งานรู้สึกสะดวกสบายเสมือนอยู่ที่บ้าน ผ่านการออกแบบอยางมีสุนทรียศาสตร์ สามารถเชิญชวนและดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

30
Originality: ความคิดสร้างสรรค์

ผู้ออกแบบถ่ายทอดจินตนาการผ่านผลงานของตัวเอง ด้วยการนำเสนอวิธีที่แตกต่างไม่ซ้ำใคร แก้ปัญหาด้วยมุมมองใหม่ ๆ และมีแนวทางที่โดดเด่น โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากผลงานที่มีอยู่ก่อนแล้ว

20
Feasibility: การใช้งานได้จริง

แนวคิดในการออกแบบมีความเป็นไปได้และสามารถนำไปปรับใช้งานได้ในชีวิตจริง

10

หมายเหตุ: มีคะแนนพิเศษในกรณีที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ (สูงสุด 5 คะแนน)

Judging Process

ผลงานที่ส่งเข้ามาจะได้รับการพิจารณาใน 2 ระดับ คือ การแข่งขันระดับประเทศ และการแข่งขันระดับเอเชียแปซิฟิก

สำหรับระดับประเทศ คณะกรรมการตัดสินของแต่ละประเทศจะพิจารณาผลงานที่ผู้เข้าร่วมภายในประเทศส่งเข้ามา และการแข่งขันระดับเอเซียแปซิฟิก จะเป็นการแข่งขันของผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 จากแต่ละประเทศ เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวที่จะได้รับรางวัล Grand Prize Winner

Your Submission
Level 1:
National Level Judging
National Level Judging
National Level Winners

การแข่งขันระดับประเทศ คณะกรรมการตัดสินของแต่ละประเทศ จะเป็นผู้ประเมินผลงานที่ส่งเข้ามา โดยจะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดจำนวน 10 ผลงาน หลังจากนั้นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องนำเสนอผลงาน เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะระดับประเทศต่อไป

Level 2:
Asia-Pacific Level Judging
Asia-Pacific Level Judging
Asia-Pacific Level Winner

ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 จากแต่ละประเทศจะได้เป็นผู้เข้ารอบสำหรับแข่งขันต่อระดับเอเชียแปซิฟิก และจะได้นำเสนอผลงานออกแบบของตนแก่คณะกรรมการตัดสินระดับเอเชียแปซิฟิก และคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้ประกาศผลผู้ชนะรางวัล Grand Prize Winner

Frequently Asked Questions (FAQs)

American Standard Design Award (ASDA) คือการประกวดออกแบบห้องน้ำประจำปีที่เปิดให้กับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาตรี ระดับชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และมัณฑณศิลป์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เปลี่ยนความรู้ทางทฤษฎีให้เป็นรูปธรรม การประกวดออกแบบห้องน้ำนี้จัดขึ้นเพื่อจุดประกายวิสัยทัศน์ด้านการออกแบบที่เป็นตัวขับเคลื่อนพันธกิจของ American Standard ในการส่งมอบโซลูชันห้องน้ำที่ตอบโจทย์มาอย่างยาวนาน และผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัยได้อย่างลงตัว

การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2558 โดยเป็นการแข่งขันแบบรอบเดียว มีการเชิญชวนผู้เข้าร่วมจาก 4 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ASDA กลับมาจัดอีกครั้งในปี 2565 โดยยกให้รางวัลนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจในฐานะแบรนด์ที่มีจุดมุ่งหมาย

ผู้เข้าร่วมการประกวด ต้องเป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะมัณฑนศิลป์ หรือคณะ/สาขาวิชา ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (เท่านั้น) ในประเทศไทย ออสเตรเลีย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

การแข่งขัน ASDA ในปีนี้มุ่งเน้นที่การออกแบบห้องน้ำโรงแรม เพื่อสะท้อนถึงความสำคัญและความสอดประสานกันของการออกแบบพื้นที่ห้องน้ำสำหรับโรงแรม โรงแรมบูทีก รีสอร์ท (Hospitality) ที่ผ่านการคิดค้นและคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ มาเป็นอย่างดี เพื่อรังสรรค์พื้นที่ที่มอบความผ่อนคลาย สร้างแรงบันดาลใจ และทำให้นักท่องเที่ยวและผู้พักอาศัยรู้สึกสดชื่น ภายใต้หัวข้อ "Home Away from Home"

สิ่งที่จะให้คำนิยามคำว่าบ้านได้อย่างแท้จริงคือความสมดุลระหว่างการออกแบบ พื้นที่ และประโยชน์ใช้สอยที่มีความละเอียดอ่อน แม้ไม่ได้อยู่ที่บ้าน เราก็ยังคงต้องการพื้นที่ที่ไว้ผ่อนคลาย สร้างแรงบันดาลใจ และทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา ความรู้สึกสบายกายสบายใจนับเป็นสิ่งที่จะโอบรับเราทุกครั้งที่ก้าวเท้าเข้าไปในห้อง ไม่ว่าห้องนั้นจะมีสไตล์ สีสัน หรือการตกแต่งในรูปแบบใด

สำหรับปีนี้ เราพร้อมที่จะปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบห้องน้ำสำหรับโรงแรม โรงแรมบูทีก รีสอร์ท (Hospitality) ให้มีโทนเสมือนบ้านอันแสนอบอุ่น ให้ผู้เข้าพักทุกคนได้รับความรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้าน

หมวดหมู่ Hospitality ภายใต้โจทย์การออกแบบพื้นที่ห้องน้ำสำหรับโรงแรม โรงแรมบูทีก รีสอร์ท (Hospitality) สำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้พักอาศัยเพื่อการพักผ่อนและเพื่อธุรกิจ

แนวทางการออกแบบควรสมดุลในแง่ของสุนทรียศาสตร์ การยศาสตร์ สุขอนามัย ความปลอดภัย และความสะดวกสบาย โดยคำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ และพื้นที่ห้องน้ำควรเป็นพื้นที่ที่น่าใช้งานที่ทำให้ผู้เข้าพักกลับมาใช้งานซ้ำอีก

ควรออกแบบห้องน้ำที่เจ้าของโรงแรมสามารถดูแลรักษาได้ไม่ยาก เพื่อให้บริการพื้นที่ที่ถูกสุขลักษณะให้กับผู้เข้าพักอยู่เสมอ

ห้องน้ำที่ออกแบบควรประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ American Standard และแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกมานั้นตอบโจทย์อย่างไร เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายสูงสุดและสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นไม่ต่างจากบ้าน รวมถึงตอบโจทย์เจ้าของโรงแรมในแง่ของการประหยัดน้ำ ความสะดวกในการใช้งาน และการบำรุงรักษา

การออกแบบควรมีความเป็นไปได้และสามารถนำใช้งานได้จริง

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านทาง Official Website ของ ASDA ได้ที่ https://asda.americanstandard-...

เมื่อลงทะเบียนแล้วคุณจะได้รับหมายเลขไอดี เพื่อใช้เข้าสู่ระบบ รหัสผ่าน และรหัสผู้เข้าร่วม ซึ่งจะใช้ในการเข้าสู่ Resource Centre และในการส่งผลงาน

ผู้เข้าร่วมจะต้องดาวน์โหลดเทมเพลตงานออกแบบ (ไฟล์ PPT) เพื่อจัดเตรียมผลงาน โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://asda.americanstandard-...

เมื่อจัดทำผลงานในเทมเพลตเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมจะต้องแปลงไฟล์เป็น PDF เพื่อใช้ในการส่งผลงาน

ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องใช้รายการผลิตภัณฑ์ที่เตรียมไว้ให้และดาวน์โหลดรายการผลิตภัณฑ์ตามประเทศของตน จากเว็บไซต์ทางการของ ASDA ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดตามประเทศของตนในการออกแบบพื้นที่ห้องน้ำ

ดาวน์โหลดรายการผลิตภัณฑ์ได้ที่นี่: https://asda.americanstandard-...

ผู้เข้าแข่งขันสามารถส่งผลงานแบบเดี่ยวได้เท่านั้น

ผลงานที่นำส่งจะต้องประกอบด้วย

1) ชิ้นงานออกแบบ (PDF ขนาดไม่เกิน 10MB)

2) ภาพ Render งานออกแบบห้องนํ้า (JPG ขนาดไม่เกิน 10MB)

ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจากทุกประเทศ สามารถส่งผลงานได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567

คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบจากทั่วภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึงพันธมิตรของบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำ สถาปนิกมืออาชีพ และนักออกแบบตกแต่งภายในที่มีชื่อเสียง บุคคลในวงการอุตสาหกรรมเหล่านี้คือผู้นำทางความคิดที่สร้างแรงบันดาลใจผ่านประสบการณ์ที่สั่งสมอย่างมากมาย โดยจะประเมินผลงานและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงลึกทางสถาปัตยกรรม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการของเราได้ที่นี่: https://asda.americanstandard-apac.com/th/judges

คณะกรรมการจะตัดสินผลงานที่ผ่านการคัดเลือกโดยแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ ระดับประเทศและระดับเอเชียแปซิฟิก

สำหรับในระดับประเทศนั้น คณะกรรมการจะร่วมกันประเมินผลงานที่ทางผู้เข้าแข่งขันภายในประเทศส่งเข้ามา ผู้ชนะรางวัลที่ 1 จากแต่ละประเทศจะได้เข้าไปแข่งขันกันต่อในระดับภูมิภาค โดยคณะกรรมการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะทำการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะรางวัล Grand Prize

ผลงานทุกชิ้นจะตัดสินตามเกณฑ์หลัก 4 ประการ ได้แก่ Purposeful Design (การออกแบบอย่างมีจุดมุ่งหมาย) Inviting Style (ความน่าใช้งาน) Originality (ความคิดสร้างสรรค์) และ Feasibility (การใช้งานได้จริง) โดยสัดส่วนคะแนนจะอยู่ที่ 40, 30, 20 และ 10 ตามลำดับ โดยมีคำนิยามดังนี้

Purposeful Design: การออกแบบอย่างมีจุดมุ่งหมาย

แนวคิดการออกแบบที่มีการคำนึงถึงความต้องการและการใช้งานที่เหมาะสมของผู้เข้าพักอาศัยและเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัว รวมถึงทั้งในเรื่องการออกแบบพื้นที่ห้องน้ำ และการเลือกใช้สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบภายในห้องน้ำจาก American Standard ได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถนำเสนอได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ในการออกแบบนั้น สามารถตอบโจทย์แนวคิดนั้นได้อย่างไร

Inviting Style: ความน่าใช้งาน

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องแสดงให้เห็นถึงสุนทรียภาพของความงามของพื้นที่พร้อมกับรูปลักษณ์ที่สวยงามทันสมัยของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยตอบโจทย์งานดีไซน์ได้อย่างลงตัวและดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการใช้งานที่ทำให้สะดวกสบายเสมือนอยู่บ้าน

Originality: ความคิดสร้างสรรค์

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบหรือการแก้ปัญหาเรื่องการใช้งานพื้นที่ได้อย่างน่าสนใจ รวมถึงการนำเสนอวิธีที่แตกต่างไม่ซ้ำใคร แก้ปัญหาด้วยมุมมองใหม่ ๆ และมีแนวทางที่โดดเด่น โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากผลงานที่มีอยู่เดิมแล้ว

Feasibility: การใช้งานได้จริง

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และสามารถนำไปปรับใช้งานได้ในชีวิตจริง รวมไปถึงความสะดวกสบายในการใช้งานตามหลักการยศาสตร์ของงานออกแบบดังกล่าว

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://asda.americanstandard-...

ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่านที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาจะได้รับเกียรติบัตรในการเข้าร่วมกิจกรรม และสำหรับผู้ชนะรางวัลระดับประเทศ ผู้ชนะของแต่ละประเทศจะได้รับรางวัลดังนี้ ผู้ชนะรางวัลที่ 1 (2,000 ดอลลาร์สหรัฐ) รางวัลที่ 2 (1,500 ดอลลาร์สหรัฐ) รางวัลที่ 3 (1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) พร้อมโล่รางวัล

สำหรับรางวัลระดับเอเชียแปซิฟิกซึ่งเป็นการตัดสินในระดับภูมิภาค ผู้ชนะรางวัล Grand Prize จะได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งได้รับโอกาสให้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลและเยี่ยมชม LIXIL Global Design Studio ณ ประเทศสิงคโปร์

เราตั้งใจที่จะประกาศผลผู้ชนะระดับประเทศในวันที่ 29 เมษายน 2567 ตามด้วยการประกาศผลผู้ชนะระดับเอเชียแปซิฟิกในวันที่ 27 พฤษภาคม 2567